วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562

"ความดันในอนุภาคโปรตอนสูงกว่าใจกลางดาวนิวตรอน 10 เท่า"

"ความดันในอนุภาคโปรตอนสูงกว่าใจกลางดาวนิวตรอน 10 เท่า"



ที่มา:sci-breakthroughs2018

   คำว่าโปรตอนเป็นภาษากรีกแปลว่า “ตัวแรก” ในนิวเคลียสของอะตอมใด ๆ จะพบโปรตอนอย่างน้อยหนึ่งตัว ในตัวโปรตอนประกอบด้วย อัพควาร์ก (u) 2 ตัวและ ดาวน์ควาร์ก (d) 1 ตัว แรงระหว่างควาร์กถูกควบคุมด้วย กลูออน
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการเจฟเฟอร์สัน (TJNAF) ของสหรัฐฯ ใช้เทคนิคใหม่ตรวจวัดและคำนวณแรงดันภายในอนุภาคโปรตอนได้ถึง 100 เดซิลเลียนปาสคาล (100 decillian Pascal) หรือเท่ากับค่าความดันที่ขึ้นต้นด้วยเลข 1 และมีศูนย์ตามหลังมาอีก 35 ตัว แรงดันมหาศาลนี้เกิดจากแรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม โดยมีทิศทางออกมาจากศูนย์กลางของอนุภาคโปรตอน และพบว่าแรงนี้ทรงพลังกว่าแรงดันที่ใจกลางของดาวนิวตรอน ซึ่งเป็นวัตถุอวกาศที่มีความหนาแน่นสูงยิ่งถึง 10 เท่า

การค้นพบสสารใหม่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโซล่าเซลล์

"การค้นพบสสารใหม่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโซล่าเซลล์"


ที่มา:https://ienergyguru.com/2017/12/การค้นพบสสารใหม่/

  การพัฒนาประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ในยุคปัจจุบันต้องแยกเนื้อสารที่ใช้ผสมโซล่าเซลล์ให้มีความบริสุทธิ์ แผงโซล่าในยุคปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งเทคโนโลยีที่สามารถสกัดสารซิลิคอนที่เรียกได้ว่าเกือบบริสุทธิ์ 100 % ไร้ที่ติในระดับอนุภาค ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญมากต่อแผงโซล่าเซลล์หากซิลิคอนไม่บริสุทธิ์จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการไหลเวียนของอิเล็กตรอนของวงจร
กระแสใหม่ของกลุ่มนักวิจัยพลังงานโซล่าเซลล์กำลังเปลี่ยนทิศทางการพัฒนาประสิทธิภาพแผงโซล่าจากสาร ซิลิคอน เป็นสสาร perovskite ซึ่งในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาประสิทธิภาพของโซล่าเซลล์ perovskite ได้ดีดตัวสูงขึ้นจาก 2.2% มาเป็น 25.5 % ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งความถี่ในการพัฒนาของสสารตัวใหม่นี้มีผลตอบรับที่ดีกว่าแผงโซล่าเซลล์ ชนิดอื่น ๆ ซึ่งสสาร perovskite ชนิดนี้ได้ถูกค้นพบเมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่ามีศักยภาพสูงในการเก็บเกี่ยวพลังงานแสงอาทิตย์ มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เพื่อที่จะเปลี่ยนสสาร perovskite ให้เป็นแหล่งสสารพลังงานวงจรโซล่าจะนำสสาร perovskiteไปประกบคู่กับสสาร Tin dioxide และวางลงบนเนื้อกระจกและทับอีกชั้นด้วยแผ่นเหล็ก โดยส่วนใหญ่มักจะใช้ทองหรือเงิน
สสาร perovskite เป็นการร่วมตัวกันของสารตะกั่วและแร่ที่มีธาตุฮาโลเจน เช่น สารไอโอดีน และสารชีวภาพ ที่มีการจัดเรียงโครงสร้างของ อนุภาค 3 ตัวเข้าด้วยกันอย่างแนบแน่น
เจ้าสสาร perovskite ตัวนี้มีจุดเด่นที่แตกต่างเป็นผลดีต่อการนำมาประกอบในแผงโซล่าเซลล์ เนื่องด้วยสสารชนิดนี้มีคุณสมบัติที่สามารถดูดซับแสงอาทิตย์ได้มากกว่าสารชนิดอื่น ๆ ในแผงโซล่า อาทิ สารซิลิคอนซึ่งประสิทธิภาพการดูดซับพลังงานของสสาร perovskite จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเมือเนื้อวัสดุมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีในการติดตั้งภายนอกอาคาร และด้วยคุณสมบัติพิเศษอีกอย่างของสสาร perovskite มันสามารถถ่ายเทอิเล็กตรอนได้ดีมากและอิเล็กตรอนที่สูญเสียระหว่างทางพบน้อยสุด ๆ นั้นหมายความว่าสสาร perovskite นี้สามารถช่วยให้ตัวเปลี่ยนอิเล็กตรอนเป็นกระแสไฟฟ้าทำงานได้ดียิ่งขึ้น

ทีมวิจัยพบนวัตกรรม ‘แท่งนาโน’ ดูดซับน้ำจากอากาศได้

"ทีมวิจัยพบนวัตกรรม ‘แท่งนาโน’ ดูดซับน้ำจากอากาศได้"



ที่มา:release.aspx

   ทีมวิจัยพัฒนา ‘Nanorods’ ได้อย่างบังเอิญในห้องทดลอง มันคือ ก้านคาร์บอนขนาดเล็กจิ๋ว ที่สามารถสกัดและคายน้ำจากอากาศได้ แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมอันแห้งแล้งก็ตาม ซึ่งเป็นไปได้ว่าเทคโนโลยีนี้จะสามารถนำไปปรับปรุงเป็น ‘เครื่องกรองน้ำจากอากาศ" ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ใช้พลังงานนิดเดียว หรือนำไปผลิตเป็นเส้นใยสำหรับสวมใส่ เพื่อการดูดซับเหงื่อจากร่างกายดีกว่าเส้นใยใดๆในโลก
David Lao จาก Pacific Northwest National Laboratory (PNNL) และทีมงานบังเอิญค้นพบ ‘Nanorods’ ในขณะกำลังพัฒนาเส้นใยแม่เหล็กนาโน (Magnetic Nanowires) แต่กลายเป็นว่าเส้นใยที่พวกเขาทำ กลับมีน้ำหนักมากขึ้นตามความชื้นในห้องอย่างมีนัยยะ แต่เมื่อส่องดูในกล้องจุลทรรศน์ ปรากฏว่าเส้นใย Nanorods โอบอุ้มน้ำในห้องไว้ โดยน้ำจะยึดปลายเส้นใยไว้ด้วยกัน แต่เมื่อปลายเส้นใยห่างกันเกิน 1.5 นาโนเมตร น้ำก็คายออก มีความเป็นไปได้ว่าในอนาคต พวกเราจะสามารถผลิตน้ำไว้ใช้เองจากการควบแน่นหยดน้ำในอากาศ แม้จะอยู่กลางทะเลทรายอันร้อนระอุ พวกเราก็ไม่มีทางขาดน้ำตายอย่างแน่นอน


วิทยาศาสตร์เปลี่ยน CO2 ให้กลายเป็น ‘หิน’ ใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือน

"วิทยาศาสตร์เปลี่ยน CO2 ให้กลายเป็น ‘หิน’ ใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือน"


ที่มา:https://thematter.co/byte/top-20-sciences-2016-from-the-matter/14872

   ทีมนักวิจัยนานาชาติพยายามศึกษาความเป็นไปได้ โดยการปั้ม CO2 ลงไปในชั้นใต้ดินและเปลี่ยนสารองค์ประกอบมันเสียหน่อย ซึ่ง CO2 จะกลายเป็นของแข็งโดยใช้เวลาไม่กี่เดือน ทำให้การจัดการกากของเสียจากโรงไฟฟ้าเป็นไปได้อย่างปลอดภัยและรบกวนธรรมชาติน้อยที่สุด
โครงการนี้ใช้ชื่อรหัสว่า CarbFix ทดลองติดตั้งในโรงไฟฟ้า Hellisheidi โดยปั้มลงไปชั้นหินบะซอลภูเขาไฟใต้โรงงานนี้เอง เมื่อหินบะซอลทำปฏิกิริยากับ CO2 และน้ำ ตะกอนคาร์บอนจะเปลี่ยนเป็นสีขาวมีความแข็ง ไม่ซึมขึ้นมาบนผิวดิน ไม่ละลายน้ำ ตัดปัญหาการปนเปื้อนสภาพแวดล้อมแบบโล่งอกโล่งใจ

‘ปลาคิลลี่ฟิช’ กลายพันธุ์ตัวเอง เพื่อให้ทนสารเคมี 8,000 เท่า

‘ปลาคิลลี่ฟิช’ กลายพันธุ์ตัวเอง เพื่อให้ทนสารเคมี 8,000 เท่า



ที่มา:14872

   จากการปล่อยสารเคมีลงแหล่งน้ำ ทำให้พวกมันต้องวิวัฒนาการตัวเองให้ต้านทานสารเคมีกว่า 8,000 เท่า เมื่อเทียบกับปลาทั่วๆ ไป
จากการที่ต้องทนอยู่ในน่านน้ำที่เต็มไปด้วย ไดอ๊อกซิน โพลีคลอริเนตไบฟีนิล (PCB) และสารโลหะหนักต่างๆ หากเป็นปลาสายพันธุ์อื่นๆ คงว่ายน้ำหงายท้องแล้ว แต่ปลาคิลลี่ฟิชสามารถทนต่อสารเคมีอันตรายได้มากกว่าปกติถึง 8,000 เท่า
การกลายพันธุ์ที่ว่า ทำให้ปลาพัฒนายีนพิเศษปิดกั้นเซลล์ไม่ให้ถูกทำลายจากสารเคมี แม้พวกมันจะดิ้นรนอยู่ได้ แต่ในมุมมองนักพิษวิทยานั้น ‘มันไม่ใช่ข่าวดีเลย'

ใช้หุ่นยนต์ช่วยในการสร้างยาปฏิชีวนะใหม่

"ใช้หุ่นยนต์ช่วยในการสร้างยาปฏิชีวนะใหม่"


ที่มา:https://www.thairath.co.th/news/foreign/1622918

   ธรรมชาติถือเป็นขุมทรัพย์ใหญ่ของสารประกอบทางเคมี ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บหลากหลายชนิด ทว่าสารเคมีที่น่าสนใจที่สุดมักมาจากสิ่งมีชีวิต ทว่านำมาใช้งานได้ยากในห้องปฏิบัติการทดลอง โดยเฉพาะสารประกอบเคมีประเภทพอลิคีไทด์ (polyketides) คือกลุ่มสารเคมีที่สำคัญซึ่งส่วนใหญ่ผลิตโดยแบคทีเรียในดินและจุลินทรีย์อื่นๆ
เมื่อเร็วๆ นี้ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ในอังกฤษ เผยความสำเร็จในการสร้างแบคทีเรียลำไส้ที่พบบ่อยเพื่อผลิตยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ด้วยการใช้หุ่นยนต์เข้าช่วย ยาปฏิชีวนะดังกล่าวรู้จักกันในชื่อพอลิคีไทด์ คลาสทู (polyketides Class II) เกิดจากแบคทีเรียในดินตามธรรมชาติและมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรีย อันมีความสำคัญในอุตสาหกรรมยาสมัยใหม่ที่เชื่อว่าจะนำไปใช้ต่อสู้กับโรคติดเชื้อและโรคมะเร็งได้
การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นศักยภาพของวิธีการรวมเครื่องจักรกลการผลิตแบคทีเรียเข้ากับเอนไซม์จากพืชและเชื้อรา จนเกิดความเป็นไปได้ที่จะสร้างสารประกอบทางเคมีใหม่ๆ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในธรรมชาติ และไม่เพียงช่วยให้นักวิจัยทดลองสารพอลิคีไทด์ใหม่ได้แบบอัตโนมัติ แต่ยังจะสามารถเขียนลำดับดีเอ็นเอของเส้นทางการสังเคราะห์ยาปฏิชีวนะได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยเผยว่าน่าจะใช้เวลาราว 1 ปีในการสร้างและทดสอบยาปฏิชีวนะที่อาจเกิดขึ้นได้ถึงสิบชนิด.


สารเคมีในผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ทำให้ผู้หญิงเสี่ยงเป็นมะเร็ง

"สารเคมีในผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ทำให้ผู้หญิงเสี่ยงเป็นมะเร็ง"



ที่มา:673003.html

      ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยจอร์จเมสันในสหรัฐฯ ซึ่งเผยแพร่ในวารสารเอ็นไวรอนเมนต์ อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่า สารเคมีในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวส่งผลเสียต่อฮอร์โมนของผู้หญิง รวมทั้งอาจนำไปสู่ภาวะมีบุตรยากและมะเร็งเต้านม โดยผลิตภัณฑ์ความงามมักจะมีส่วนผสมของสารเคมีต่างๆ เช่น พาราเบน ซึ่งเป็นสารกันเสียที่ใช้ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ และเบนโซฟีโนน ซึ่งเป็นตัวกรองรังสียูวี ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มากเกินไป มีความสัมพันธ์กับเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกและประจำเดือนที่ผิดปกติ แต่ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่น้อยเกินไป จะทำให้ไข่ไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ขณะเดียวกันฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่มากผิดปกติก็มีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านม และภาวะเลือดออกทางช่องคลอดที่ผิดปกติ

"ความดันในอนุภาคโปรตอนสูงกว่าใจกลางดาวนิวตรอน 10 เท่า"

"ความดันในอนุภาคโปรตอนสูงกว่าใจกลางดาวนิวตรอน 10 เท่า" ที่มา: sci-breakthroughs2018    คำว่าโปรตอนเป็นภาษากรีกแปลว่า ...